เมนู

ไม่มีการพูดเป็นทีมายินดี ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน คือมีจิตสงบ อธิบายว่า
(มีจิต) เป็นสมาธิ เพราะเว้นความฟุ้งซ่านแห่งจิต ที่เกิดขึ้นเพราะมีการพูดคุย
เป็นที่มายินดี. คำที่เหลือเข้าใจได้ง่ายทั้งนั้นเพราะมีนัยเหมือนที่เคยกล่าวแล้ว
ในก่อน.
ด้วยประการดังพรรณนามานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสวัฏฏะไว้ใน
พระสูตรที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 และที่ 9 ไว้ในวรรคนี้แล้ว.
(ส่วน) ในวรรคนอกนี้ ตรัสไว้ทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.
จบอรรถกถาปริหานสูตรที่ 10
จบวรรควรรณนาที่ 3

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. มิจฉาทิฏฐิสูตร 2. สัมมาทิฏฐิสูตร 3. นิสสรณสูตร 4. รูปสูตร
5. ปุคคสูตร 6. อวุฏฐิกสูตร 7. สุขสูตร 8. ภินทนสูตร 9. ธาตุสูตร
10. ปริหานสูตร และอรรถกถา.

อิติวุตตกะ ติกนิบาต


วรรคที่ 4


1. วิตักกสูตร


ว่าด้วยอกุศลวิตก 3 ประการ


[258] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้
สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลวิตก 3 ประการ 3 ประการเป็นไฉน
คือ วิตกประกอบด้วยการไม่ให้ผู้อื่นดูหมิ่นตน 1 วิตกประกอบด้วยลาภ
สักการะและความสรรเสริญ 1 วิตกประกอบด้วยความเอ็นดูในผู้อื่น 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อกุศลวิตก 3 ประการนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยการไม่ให้
ผู้อื่นดูหมิ่นตน ผู้หนักในลาภและสักการะ
มีปกติยินดีกับด้วยอำมาตย์ทั้งหลาย เป็น
ผู้ห่างไกลจากความสิ้นไปแห่งสังโยชน์
ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้ ละบุตร ปศุสัตว์
การให้กระทำวิวาหะ และการหวงแหน
เสียได้ ภิกษุเช่นนั้น ๆ เป็นผู้ควรเพื่อจะ
บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด.

จบวิตักกสูตรที่ 1